วันจันทร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14
วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน

อาจารย์นัดเอาในปั้มเช็คชื่อที่มาเรียนและแจกรางวัลเด็กดีให้กับนักศึกษาในแต่ละเซ็ค
และพูดคุยเรื่องตารางเรียนของเทอม 2 


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13
วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน

ความรู้ทีไ่ด้รับ
อาจารย์ร้องเพลงให้นักศึกรำวงไปรอบๆห้องจากนั้นกำหนดให้จับกลุ่มกันโดยแต่ละรอบคนในกลุ่มห้ามซ้ำกัน เป็นการฝึกความคิดว่าควรทำอย่างไร

จากนั้นการจับกลุ่มครั้งสุดท้ายอาจารย์ให้นักศึกษาแต่งนิทานจากสิ่งไม่มีชีวิตให้กลายเป็นสิ่งที่มีชีวิต
โดยให้คิดเนื้อเรื่องและตัวแสดง
โดยหลังจากที่แต่ละกลุ่มแสดงเสร็จอาจารย์จะถามว่ามีการวางแผนอะไรยังไง ถึงทำงานออกมาจนสำเร็จ

ประเมินอาจารย์ผู้สอน
- อาจารย์มีรูปแบบและเทคนิคการสอนหลากหลายรูปแบบ
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12
วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน

ความรู้ที่ได้รับ
เริ่มด้วยการที่อาจารย์ให้นักศึกษานำสิ่งประดิษฐ์ที่ต้องไปแก้ใขมานำเสนอ

ต่อด้วยกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ มี4องค์ประกอบ
1.ร่างกาย
2.พื้นที่
3.ระดับ
4.ทิศทาง

 กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ หมายถึง กิจกรรมที่จัดให้เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกายอย่างอิสระ โดยใช้เสียงเพลง จังหวะ และทำนอง คำคล้องจอง หรือเครื่องดนตรีประกอบ การเคลื่อนไหว เพื่อส่งเสริมให้เด็กเกิดจินตนาการความคิดสร้างสรรค์ เรียนรู้จังหวะ และควบคุมการเคลื่อนไหวของตนเองได้ ธรรมชาติของเด็กปฐมวัยจะเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อใช้พลังกายและถ่ายพลังที่มีอยู่ล้นเหลือออกมา แต่ในขณะเดียวกันร่างกายและจิตใจของเด็กจะสมบูรณ์จากการเคลื่อนไหว ดังนั้น กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะจึงได้รับการจัดเป็นกิจกรรมหลักเพื่อพัฒนาเด็ก ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็น เพื่อให้เด็กเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ มีผลต่อการพัฒนาการเด็ก ดังนั้นการใช้กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะจึงมีผลทำให้เด็กเรียนรู้ร่างกายของตนว่า การใช้ร่าง กายแต่ละส่วนอย่างไร ซึ่งมีความหมายต่อเด็กมาก เด็กจะมีโอกาสได้ประเมินความสามารถของตนเอง ทำให้เด็กได้คิด ได้ตัดสินใจว่าจะเคลื่อนไหวแบบใด อย่างไร อีกทั้ง การเคลื่อนไหวไปพร้อมเพื่อนอย่างมีความหมาย จะทำให้เด็กเรียนรู้การปฏิบัติต่อกัน ทำให้เด็กเกิดความมั่นใจทั้งเป็นการลดอัตตา (Ego) ไปสู่การมีเหตุผลและคุณธรรม (superego) เด็กได้รับการฝึกการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ บุคลิก ขอบเขตรอบตัวด้วยการใช้เสียงเพลง ดนตรีทำให้เด็กเรียนรู้จังหวะ และเกิดจินตนาการ ดังนั้น กระทรวงศึกษาธิการจึงได้กำหนดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะไว้เป็นกิจกรรมหลักในตารางกิจกรรมประจำวันที่เด็กจะต้องได้รับการส่งเสริม ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโป่งสลอดจัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเป็นประจำเด็ก ๆ จะมีความสุขที่จะได้ขึ้นเวทีมาแสดงท่าทางที่ตนได้มีโอกาสแสดงออกด้วยความสุข สนุกและมีความเชื่อมั่นในตนเอง.... เกร็ดความรู้เพื่อนครู การจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ ครูควรพิจารณาเรื่องต่อไปนี้ 
1. จัดกิจกรรมท่ามกลางบรรยากาศความสุขและสนุกสนาน ชวนเด็กร่วมกิจกรรมดีกว่าการบังคับ 
2. เด็กควรได้รู้จักชื่อท่าการเคลื่อนไหวเบื้องต้นเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ภาษาไปด้วย 
3. ส่งเสริมให้เด็กเคลื่อนไหวและจังหวะเป็นไปตามธรรมชาติของเด็กปฐมวัย และตอบสนองความต้องการของเด็กให้เพียงพอ 
4. เน้นความคิดสร้างสรรค์ของเด็กมากกว่าการทำท่าทางตามครูบอกหรือการสาธิต 
5. ให้ความสำคัญกับการเคลื่อนไหวที่ต้องใช้กล้ามเนื้อใหญ่ก่อน ได้แก่ การใช้กล้ามเนื้อลำตัว แขน ขา 
6. สร้างทัศนคติที่ดีต่อตนเองให้แก่เด็กว่า ตนความสามารถที่จะเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่าง กายได้ เป็นการพัฒนาการรับรู้เกี่ยวกับตนเองและพัฒนาจิตใจ สร้างความเชื่อมั่นในตนเองให้แก่เด็ก

มีทั้งหมด 6 รูปแบบคือ
1.การเคลื่อนไหวประกอบเพลง
2.การเคลื่อนไหวประกอบคำบรรยาย
3.การเคลื่อนไหวตามคำสั่ง
4.การเคลื่อนไหวแบบผู้นำผู้ตาม
5.การเคลื่อนไหวตามข้อตกลง
6.การเคลื่อนไหวแบบความจำ

จากนั้นให้แต่ละกลุ่มจับฉลากว่าจะสอนการเคลื่อนไหวรูปแบบไหน

กลุ่มที่ 1 การเคลื่อนไหวตามข้อตกลง


กลุ่มที่ 2 การเคลื่อนไหวประกอบเพลง


กลุ่มที่ 3 การเคลื่อนไหวแบบผู้นำผู้ตาม


กลุ่มที่ 4 การเคลื่อนไหวตามข้อตกลง


กลุ่มที่ 5 การเคลื่อนไหวตามคำสั่ง


การประเมินอาจารย์ผู้สอน
- กิจกรรมมีความหลากหลายและสอดคล้องกับองค์ความรู้ที่จำเป็น






บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่11
วันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน

ความรู้ที่ได้รับ
เพื่อนๆนำสิ่งประดิษฐ์มานำเสนอให้กับอาจารย์


ประเมินอาจารย์ผู้สอน
- ให้คำแนะนำกับนักศึกษาได้หลายเรื่อง
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10
วันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม



ความรู้ที่ได้รับ
การบูรณาการทั้ง 4 ด้านได้แก่
1.ด้านร่างกาย
2.ด้านอารมณ์ - จิตใจ
3.ด้านสังคม
4.ด้านสติปัญญา

ความคิดสร้างสรรค์มีกระบวนการดังนี้
1.ริเริ่ม
2.ยืดหยุ่น
3.ละเอียดละออ
4.คล่องแคล่ว

จากนั้นอาจารย์ก็ให้นักศึกษาประดิษฐ์สิ่งของจากวัสดุในแต่ละกลุ่ม
ของผมได้กระดาษลัง โดยในแต่ละกลุ่มห้ามประดิษฐ์สิ่งของซ้ำกัน

ประเมินอาจารย์ผู้สอน
- สอดแทรกความรู้ในทุกๆกิจกรรม



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9
วันจันทร์ที่ 24 ตุลาคม

หยุดชดเชยวันปิยมหาราช
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8 
วันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม

ความรู้ที่ได้รับ
วันที่เป็นวันที่เปลี่ยนผู้สอนอีกคนหนึ่ง โดยอาจารย์ให้จับกลุ่ม10คน และออกแบบรูปอะไรก็ได้ตามเรขาคณิตที่ได้รับ จากนั้นนำของแต่ละคนในกลุ่มมารวมกันและทำให้ออกมาเป็นสื่อ

และก่อนที่จะรวมกันอาจารย์ให้ไปติดผลงานของตนเองที่กระดาน


ประเมินอาจารย์ผู้สอน
- เพิ่มความรู้ในทุกๆกิจกรรมที่อาจารย์ให้ทำ

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7 
วันจันทร์ที่ 10 ตุลาคม

ความรู้ที่ได้รับ
องค์ประกอบความคิดสร้างสรรค์
Guilford ได้แบ่งเป็น 4 ด้าน
1.ความคิดคล่องแคล่ว เชื่อมโยงสัมพันธ์ คิดไวมีความหลากหาย
2.ความคิดริเริ่ม คิดแปลกใหม่แตกต่างจากสิ่งที่มีอยู่
3.ความคิดยืดหยุ่น หาสิ่งใหม่มาทดแทนจากสิ่งเดิม
4.ความคิดละเอียดลออ  ความคิดเกี่ยวกับรายละเอียด,การตกแต่ง

ฐานที่ 1 แกนกระดาษทิชชู่


ฐานที่ 2 นำสีที่ผสมน้ำยาล้างจานมาเปาให้เป็นฟองสบู่


ฐานที่ 3 สิ่งประดิษฐ์วิทยาศาสตร์จากจานกระดาษ


ประเมินอาจารย์ผู้สอน
- กิจกรรมทำที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในอนาคต




บันทึกกาเรียนรู้ครั้งที่ 6 
วันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม

ความรู้ที่ได้รับ
แต่ละกลุ่มนำเสนอกิจกรรมของตนเองให้เพื่อนทำ

กลุ่มที่1 หน่วยปลา
อุปกรณ์
1.ดินน้ำมัน
2.ถุงใส
3.กระดาษสี
4.ไม้จิ้มฟัน
5.กระดาษลัง

ให้เพื่อนๆออกแบบบ่อปลาหรือตู้ปลาตามความคิดของกลุ่ม


นี้คือปลาที่ผมปั้นครับ



กลุ่มที่ 2 หน่วยยานพาหนะ
อุปกรณ์
1.กระดาษลัง
2.สี
3.ดินน้ำมัน

ให้แต่ละกลุ่มสร้างถนนและยานพาหนะตามความคิดของกลุ่ม






หน่วยที่ 3 หน่วยข้าว(กลุ่มของผมเอง)
อุปกรณ์
1.ช้อนพลาสติก
2.ปากกา
3.ก้านไม้กวาด
4.ไหมพรม
5.กระดาษ 

ทำหุ่นไล่กาตามความคิดของตนเอง 



กลุ่มที่ 4 หน่วยไข่
อุปกรณ์
1.ภาพไข่
2.สี

ให้แต่ละกลุ่มระบายสีภาพและตัดออกมาเป็นไข่ตามรูป



กลุ่มที่5 หน่วยบ้าน
อุปกรณ์
1.กระดาษ
2.สี

ให้แต่ละกลุ่มวาดรูปบ้านตามจินตนาการ



กลุ่มที่6 หน่วยข้าว
อุปกรณ์
1.กระดาษ
2.สี

ให้แต่ละกลุ่มวาดรูปนาข้าวตามจินตนาการ


ประเมินอาจารย์ผู้สอน
- มีกิจกรรมหลากหลายให้นักศึกษาทำ







บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5
วันจันทร์ที่ 26 กันยายน

สอบกลางภาค
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4 
วันจันทร์ที่ 19 กันยายน

ความรู้ที่ได้รับ

Creative Thinking
"STEM & STEAM"


ประเมินอาจารย์ผู้สอน
- มีความตรงต่อเวลาในการเข้าสอน กิจกรรมหลากหลาย
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3 
วันจันทร์ที่ 12 กันยายน


STEM Education 

Science - วิทยาศาสตร์
Technology - เทคโนโลยี
Engineering - วิศวะกรรมศาสตร์
Mathematics - คณิตศาสตร์

STEM คือ การจัดการศึกษาแบบบรูณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนดลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ เป็นการนำลักษณะทางธรรมชาติของแต่ละสาขามาผสมผสานกันเน้นนำความรู้ไปใช้ในการแก้ไขปัญหาในชีวิตและพัฒนาเป็นสิ่งใหม่

Science (วิทยาศาสตร์)
  เป็นการเรียนรู้ทุกๆอย่างรอบตัวเรา ตัวฉัน บุคคลและสถานที่  เรื่องราวของธรรมชาติ

Technology (เทคโนโลยี)
   วิทยาการที่นำเอาวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์สิ่งที่เราพัฒนาขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกในการดำรงชีวิต ทุกๆสิ่งที่มนุษย์เราสามารถผลิตขึ้นมาได้

Engineering (วิศวกรรมศาสตร์)
   การออกแบบ สร้างแบบ การวางแผนเพื่อแก้ไขปัญหามาสร้างสรรค์ออกแบบผลงาน สามารถนำมาบูรณาการกับวิทยาศาสตร์ได้และยังเป็นการส่งเสริมพัฒนาการทางความคิดออกแบบสิ่งต่างๆได้

Mathematics (คณิตศาสตร์)
  ว่าด้วยการคำนวณต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ ทักษะคณิตสามารถไปประยุกต์ใช้ได้กับทุกวิชา และคณิตศาสตร์ยังใช้ได้ในชีวิตประจำวันอีกด้วย

*การศึกษาแบบ STEM เป็นการศึกาาที่ช่วยให้เด็กอยากเรียนรู้ด้วยตัวเองทำให้เด็กได้ใช้ความสามารถของตนอย่างเต็มที่ 

กิจกรรมที่อาจารย์ให้ทำคือ
1.ทำผีเสื้อจากจานกระดาษ
2.สร้างกรงโดยใช้กิ่งไม้
3.ทำ Stop motion โดยปั้นตัวละครจากดินน้ำมัน



ประเมินอาจารย์ผู้สอน
- กิจกรรมหลากหลาย ทุกกิจกรรมสร้างประสบการณ์ให้กับนักศึกษาได้ดี
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่่2
วันจันทร์ที่ 5 กันยายน

ขาดเรียนครับ
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่1
วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม

ความรู้ที่ได้รับ

เริ่มต้นโดยการที่อาจารย์แจกใบปั้มเช็คการมาเรียนกันแผ่นเพลงภาษาอังกฤษ

แล้วอาจารย์ก็สอนร้องเพลงในแผ่นเพลง

มี4เพลง ได้แก่เพลง 
1.Hello
2.Good Morning
3.Fly Fly the Butterfly
4.Incy Wincy spider

จากนั้นอาจารย์มีกิจกรรมให้ทำคือจะมีจุดอยู่ 9 จุดและนักศึกษาต้องลากเส้นเพียงแค่4เส้นให้ ผ่านจุดทั้ง9จุด

ความหมายของความคิดสร้างสรรค์

Jellen and Urban (คิดอย่างอิสระ)
De Cono (คิดนอกกรอบ)
อุษณีย์  โพธิสุข (คิดหลายๆอย่างรวมกันเพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ แก้ปัญหา)

คุณค่าของความคิดสร้างสรรค์
-คุณค่าต่อสังคม
-คุณค่าต่อตัวเอง
-ทำให้เกิดความสนุกสนาน
-ช่วยลดความเครียดทางอารมณ์
-เชื่อมั่นในตัวเอง
-สร้างนิสัยในการทำงานที่ดี
-พัฒนากล้ามเนื้อ

องค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์
Guilford ได้แบ่งองค์ประกอบเป็น 4 ด้าน
1.ความคิดคล่องแคล่ว(Fluency) 
= คิดไว คิดเยอะ คิดเร็ว
2.ความคิดริเริ่ม(Originality) 
= คิดแปลกใหม่จากที่เคยมี
3.ความคิดยืดหยุ่น(Flexibility) 
= แก้ปัญหาเฉพาะหน้า
4.ความคิดละเอียดลออ(Elaboration)
 = คิดเล็กคิดน้อย เก็บรายละเอียด

พัฒนาการทางความคิดสร้างสรรค์
Torrance แบ่งออกเป็น3 ระยะ
-ระยะแรกเกิด-2ขวบ
-ระยะ2-4ขวบ
-ระยะ4-6ขวบ
ลำดับขั้นของการพัฒนาทางความคิดสร้างสรรค์ มี5 ขั้น

ประโยชน์
-ก่อให้เกิดสิ่งแปลกใหม่
-อำนวยประโยชน์
-ช่วยให้เข้าใจปัญหาและแก้ปัญหา
-ช่วยให้ประสบความสำเร็จ
-ปรับตัวได้ดี

แนวคิดทฤษฎีทางความคิดสร้างสรรค์

Guilford 
มิติที่ 1 เนื้อหา
มิติที่ 2 วิธีคิด
มิติที่ 3 ผลของการคิด

Constructivism 
-เด็กเรียนรู้เอง
-เด็กคิดเอง
-ครูกับเด็กเรียนรู้ด้วยกัน
-สร้างองค์ความรู้ใหม่

Torrance
ขั้นที่ 1 การพบความจริง
ขั้นที่ 2 การค้นพบปัญหา
จั้นที่ 3 การตั้งสมมติฐาน
ขั้นที่ 4 การค้นพยคำตอบ
ขั้นที่ 5 ยอมรับผล

บรรยากาศที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
-เด็กรู้สึกปลอดภัย
-ไม่มีการแข่งขัน
-ได้สำรวจ ได้เล่นคนเดียว

ลักษณะของเด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์
-มีไหวพริบ
-กล้าแสดงออก
-มีสมาธิ
-ช่างสังเกต
-มั่นใจในตัวเอง เป็นต้น

กิจกรรมที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
Torrance ได้กล่าวว่ามี3 ลักษณะ
1.ความไม่สมบูรณ์ การเปิดกว้าง
2.การสร้างบางอย่างขึ้นมา และนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์
3.การใช้คำถามของเด็ก เช่น
- คำถามที่ส่งเสริมความคิดคล่องแคล่ว
- คำถามที่ส่งเสริมความคิดริเริ่ม
- คำถามที่ส่งเสริมความคิดยืดหยุ่น
- คำถามที่ส่งเสริมความคิดละเอียดลออ
- การตั้งคำถาม 5W1H
1.Who
2.What
3.Where
4.When
5,Why
6.How

ต่อมาอาจารย์ให้นักศึกษาทดสอบหลักจิตวิทยาของญี่ปุ่น โดยให้นักศึกษาฟังที่อาจารย์บรรยาย แล้วให้นักศึกษาตอบคำถามโดยการเขียนเป็นคำตอบของตัวเอง จากนั้นอาจารย์ก็เฉลยคำตอบของนักศึกษาแต่ละคน 

กิจกรรมสุดท้ายอาจารย์ให้นักศึกษาเลือกสีคนละ1แท่งแล้ววาดใส่กระดาษโดยห้ามยกมือขึ้น ตลอดการวาดอาจารย์จะเปิดเพลง หลักจากจบเพลงนักศึกษาถึงยกมือออกได้


ประเมินอาจารย์ผู้สอน 
- อาจารย์มีกิจกรรมที่หลากหลายให้นักศึกษาทำ