วันจันทร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14
วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน

อาจารย์นัดเอาในปั้มเช็คชื่อที่มาเรียนและแจกรางวัลเด็กดีให้กับนักศึกษาในแต่ละเซ็ค
และพูดคุยเรื่องตารางเรียนของเทอม 2 


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13
วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน

ความรู้ทีไ่ด้รับ
อาจารย์ร้องเพลงให้นักศึกรำวงไปรอบๆห้องจากนั้นกำหนดให้จับกลุ่มกันโดยแต่ละรอบคนในกลุ่มห้ามซ้ำกัน เป็นการฝึกความคิดว่าควรทำอย่างไร

จากนั้นการจับกลุ่มครั้งสุดท้ายอาจารย์ให้นักศึกษาแต่งนิทานจากสิ่งไม่มีชีวิตให้กลายเป็นสิ่งที่มีชีวิต
โดยให้คิดเนื้อเรื่องและตัวแสดง
โดยหลังจากที่แต่ละกลุ่มแสดงเสร็จอาจารย์จะถามว่ามีการวางแผนอะไรยังไง ถึงทำงานออกมาจนสำเร็จ

ประเมินอาจารย์ผู้สอน
- อาจารย์มีรูปแบบและเทคนิคการสอนหลากหลายรูปแบบ
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12
วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน

ความรู้ที่ได้รับ
เริ่มด้วยการที่อาจารย์ให้นักศึกษานำสิ่งประดิษฐ์ที่ต้องไปแก้ใขมานำเสนอ

ต่อด้วยกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ มี4องค์ประกอบ
1.ร่างกาย
2.พื้นที่
3.ระดับ
4.ทิศทาง

 กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ หมายถึง กิจกรรมที่จัดให้เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกายอย่างอิสระ โดยใช้เสียงเพลง จังหวะ และทำนอง คำคล้องจอง หรือเครื่องดนตรีประกอบ การเคลื่อนไหว เพื่อส่งเสริมให้เด็กเกิดจินตนาการความคิดสร้างสรรค์ เรียนรู้จังหวะ และควบคุมการเคลื่อนไหวของตนเองได้ ธรรมชาติของเด็กปฐมวัยจะเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อใช้พลังกายและถ่ายพลังที่มีอยู่ล้นเหลือออกมา แต่ในขณะเดียวกันร่างกายและจิตใจของเด็กจะสมบูรณ์จากการเคลื่อนไหว ดังนั้น กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะจึงได้รับการจัดเป็นกิจกรรมหลักเพื่อพัฒนาเด็ก ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็น เพื่อให้เด็กเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ มีผลต่อการพัฒนาการเด็ก ดังนั้นการใช้กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะจึงมีผลทำให้เด็กเรียนรู้ร่างกายของตนว่า การใช้ร่าง กายแต่ละส่วนอย่างไร ซึ่งมีความหมายต่อเด็กมาก เด็กจะมีโอกาสได้ประเมินความสามารถของตนเอง ทำให้เด็กได้คิด ได้ตัดสินใจว่าจะเคลื่อนไหวแบบใด อย่างไร อีกทั้ง การเคลื่อนไหวไปพร้อมเพื่อนอย่างมีความหมาย จะทำให้เด็กเรียนรู้การปฏิบัติต่อกัน ทำให้เด็กเกิดความมั่นใจทั้งเป็นการลดอัตตา (Ego) ไปสู่การมีเหตุผลและคุณธรรม (superego) เด็กได้รับการฝึกการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ บุคลิก ขอบเขตรอบตัวด้วยการใช้เสียงเพลง ดนตรีทำให้เด็กเรียนรู้จังหวะ และเกิดจินตนาการ ดังนั้น กระทรวงศึกษาธิการจึงได้กำหนดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะไว้เป็นกิจกรรมหลักในตารางกิจกรรมประจำวันที่เด็กจะต้องได้รับการส่งเสริม ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโป่งสลอดจัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเป็นประจำเด็ก ๆ จะมีความสุขที่จะได้ขึ้นเวทีมาแสดงท่าทางที่ตนได้มีโอกาสแสดงออกด้วยความสุข สนุกและมีความเชื่อมั่นในตนเอง.... เกร็ดความรู้เพื่อนครู การจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ ครูควรพิจารณาเรื่องต่อไปนี้ 
1. จัดกิจกรรมท่ามกลางบรรยากาศความสุขและสนุกสนาน ชวนเด็กร่วมกิจกรรมดีกว่าการบังคับ 
2. เด็กควรได้รู้จักชื่อท่าการเคลื่อนไหวเบื้องต้นเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ภาษาไปด้วย 
3. ส่งเสริมให้เด็กเคลื่อนไหวและจังหวะเป็นไปตามธรรมชาติของเด็กปฐมวัย และตอบสนองความต้องการของเด็กให้เพียงพอ 
4. เน้นความคิดสร้างสรรค์ของเด็กมากกว่าการทำท่าทางตามครูบอกหรือการสาธิต 
5. ให้ความสำคัญกับการเคลื่อนไหวที่ต้องใช้กล้ามเนื้อใหญ่ก่อน ได้แก่ การใช้กล้ามเนื้อลำตัว แขน ขา 
6. สร้างทัศนคติที่ดีต่อตนเองให้แก่เด็กว่า ตนความสามารถที่จะเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่าง กายได้ เป็นการพัฒนาการรับรู้เกี่ยวกับตนเองและพัฒนาจิตใจ สร้างความเชื่อมั่นในตนเองให้แก่เด็ก

มีทั้งหมด 6 รูปแบบคือ
1.การเคลื่อนไหวประกอบเพลง
2.การเคลื่อนไหวประกอบคำบรรยาย
3.การเคลื่อนไหวตามคำสั่ง
4.การเคลื่อนไหวแบบผู้นำผู้ตาม
5.การเคลื่อนไหวตามข้อตกลง
6.การเคลื่อนไหวแบบความจำ

จากนั้นให้แต่ละกลุ่มจับฉลากว่าจะสอนการเคลื่อนไหวรูปแบบไหน

กลุ่มที่ 1 การเคลื่อนไหวตามข้อตกลง


กลุ่มที่ 2 การเคลื่อนไหวประกอบเพลง


กลุ่มที่ 3 การเคลื่อนไหวแบบผู้นำผู้ตาม


กลุ่มที่ 4 การเคลื่อนไหวตามข้อตกลง


กลุ่มที่ 5 การเคลื่อนไหวตามคำสั่ง


การประเมินอาจารย์ผู้สอน
- กิจกรรมมีความหลากหลายและสอดคล้องกับองค์ความรู้ที่จำเป็น






บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่11
วันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน

ความรู้ที่ได้รับ
เพื่อนๆนำสิ่งประดิษฐ์มานำเสนอให้กับอาจารย์


ประเมินอาจารย์ผู้สอน
- ให้คำแนะนำกับนักศึกษาได้หลายเรื่อง
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10
วันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม



ความรู้ที่ได้รับ
การบูรณาการทั้ง 4 ด้านได้แก่
1.ด้านร่างกาย
2.ด้านอารมณ์ - จิตใจ
3.ด้านสังคม
4.ด้านสติปัญญา

ความคิดสร้างสรรค์มีกระบวนการดังนี้
1.ริเริ่ม
2.ยืดหยุ่น
3.ละเอียดละออ
4.คล่องแคล่ว

จากนั้นอาจารย์ก็ให้นักศึกษาประดิษฐ์สิ่งของจากวัสดุในแต่ละกลุ่ม
ของผมได้กระดาษลัง โดยในแต่ละกลุ่มห้ามประดิษฐ์สิ่งของซ้ำกัน

ประเมินอาจารย์ผู้สอน
- สอดแทรกความรู้ในทุกๆกิจกรรม



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9
วันจันทร์ที่ 24 ตุลาคม

หยุดชดเชยวันปิยมหาราช
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8 
วันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม

ความรู้ที่ได้รับ
วันที่เป็นวันที่เปลี่ยนผู้สอนอีกคนหนึ่ง โดยอาจารย์ให้จับกลุ่ม10คน และออกแบบรูปอะไรก็ได้ตามเรขาคณิตที่ได้รับ จากนั้นนำของแต่ละคนในกลุ่มมารวมกันและทำให้ออกมาเป็นสื่อ

และก่อนที่จะรวมกันอาจารย์ให้ไปติดผลงานของตนเองที่กระดาน


ประเมินอาจารย์ผู้สอน
- เพิ่มความรู้ในทุกๆกิจกรรมที่อาจารย์ให้ทำ